• LOGIN
  • ไม่มีสินค้าในตะกร้า

ไม่จำเป็นต้อง “Asset ใช้ Buying , Liability ใช้ Selling” และสามารถคำนวณภาษีฯ ด้วย Functional Currency ได้

[ไม่จำเป็นต้อง “Asset ใช้ Buying , Liability ใช้ Selling”
และสามารถคำนวณภาษีฯ ด้วย Functional Currency ได้]

พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 50) ได้ลงประกาศในราชกิจจาฯ แล้ว ในวันนี้ (7 เม.ย.) ซึ่งจะมีผลในวันพรุ่งนี้ (8 เม.ย.)

หลักใหญ่ใจความมี 2 เรื่อง คือ

📍 1. การตีค่าสินทรัพย์หนี้สินที่เป็นเงินตราต่างประเทศ ณ วันสิ้นงวดของกิจการที่ไม่ใช่ธนาคารฯ ไม่จำเป็นต้องใช้หลักการที่จำกัดเพียงแค่ว่า “Asset ใช้ Buying , Liability ใช้ Selling” ตาม 65 ทวิ (5) เดิม อีกต่อไป

ทั้งนี้ มีถึง 3 Options ให้เลือก ตามรูปเลยครับ

และที่เป็น Highlight คือ สามารถใช้ Average Buying&Selling ได้แล้ว (Option 1)

ดังนั้นในทางบัญชีที่เราๆ มักจะบอกว่า Asset ใช้ Buying , Liability ใช้ Selling “ก็เพราะสรรพากรนั่นแหละ” … พรุ่งนี้ (8 เม.ย.) เป็นต้นไป คงอ้างแบบเดิมไม่ได้แล้วนะครับ 🚫🚫🚫

หลังจากนี้แต่ละบริษัทคงต้องประเมินกันครับว่ายังอยากจะ Buying Selling กันเหมือนเดิม หรือจะใช้ Avg. Buying&Selling

คงต้องดูในแง่ Performance กันดีๆ ว่า Net Profit ในปัจจุบันนั้น ถูกกระทบจาก Spread Buying&Selling อยู่เป็นประจำหรือไม่ รวมไปถึงเรื่องต้นทุนในการ Implement ระบบงานต่างๆ ครับ

[65 ทวิ (5) เดิม : ให้คำนวณค่าหรือราคาของเงินตราหรือ ทรัพย์สินเป็นเงินตราไทยตามอัตราถัวเฉลี่ยที่ธนาคารพาณิชย์รับซื้อ ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยได้คำนวณไว้ และให้คำนวณค่าหรือราคาของหนี้สินเป็นเงินตราไทยตามอัตราถัวเฉลี่ยที่ธนาคารพาณิชย์ขายซึ่ง ธนาคารแห่งประเทศไทยได้คำนวณไว้]

📍 2. สามารถคำนวณภาษีฯ ด้วยงบ Functional Currency ได้แล้ว

Case นี้คงทำให้บริษัทที่มี Functional Currency ที่ไม่ใช่ THB หายเหนื่อยไปยกใหญ่ เพราะปัจจุบันต้องทำงบอย่างน้อย 3 ชุด คือ

1. ชุด Functional เพื่อใช้บันทึกบัญชี
2. ชุด THB – Translated เพื่อส่งกรมพัฒน์ฯ
3. ชุด Real THB เพื่อใช้คำนวณภาษี

ดังนั้นหากมองในภาพใหญ่ คือ ลดภาระบริษัทในการทำชุดที่ 3 นั่นเอง

สิ่งที่ขาดไม่ได้ คือ เหตุผลในการประกาศใช้ พ.ร.บ. ฉบับนี้ ได้เขียนไว้ชัดเจนว่า “เพื่อให้การปฏิบัติจัดเก็บภาษีเงินได้จากบริษัทและห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลสอดคล้องกับมาตรฐานการบัญชี อันจะส่งผลเป็นการเพิ่มความสะดวกในการประกอบธุรกิจ ลดต้นทุนของผู้ประกอบการ”

เรียกว่าน่าจะเป็น Sign ที่ดีที่ภาษีสรรพากร มีความเข้าใจ และออกกฏหมายให้ใกล้หลักการบัญชีขึ้นทุกวันครับ

หมายเหตุ :

1. พ.ร.บ. ฉบับนี้เฉพาะภาษีเงินได้นิติบุคคล (CIT) ครับ ส่วนภาษีเงินได้ปิโตรเลียม เข้าใจว่าน่าจะรอลงราชกิจจาฯ อยู่ครับ (ตาม สนช. รวมทั้ง สภาฯ ได้มีการรายงานความคืบหน้ากันเป็นระยะ)

2. กฎหมายลูก หรือรายละเอียดต่างๆ คงจะตามมาในไม่ช้าครับ

Link ราชกิจจาฯ : http://www.ratchakitcha.soc.go.th/…/2562/A/045/T_0006.PDF

==================================
📣 Accounting Analysis มี Course อบรมเก็บชั่วโมง CPD (ด้านบัญชี) แบบ E-Learning :
🔥 การบัญชีสำหรับเงินตราต่างประเทศ (Foreign Currencies) : ข้อกำหนด และข้อมูลเพื่อการวิเคราะห์ 🔥
👉 เงื่อนไขดูรายละเอียดคอร์ส -> คลิกที่นี่
==================================

เมษายน 7, 2019
© 2022 Accounting-Analysis.com All rights reserved.
0
    0
    ตะกร้าสินค้า
    ตะกร้าสินค้าว่างเปล่าย้อนกลับ