• LOGIN
  • ไม่มีสินค้าในตะกร้า

การบินไทย ไตรมาส 3/2563 ขาดทุนเพิ่มขึ้นอีก 4 เท่าตัวจากไตรมาส 2/2563 เกิดจากอะไร

[การบินไทย ไตรมาส 3/2563 ขาดทุนเพิ่มขึ้นอีก 4 เท่าตัวจากไตรมาส 2/2563 เกิดจากอะไร]

งบการบินไทย ไตรมาส 3/2563 ได้ประกาศเมื่อช่วงเย็นที่ผ่านมา มีผลขาดทุนที่ 21,536 ล้านบาท จากขาดทุนที่ 5,340 ล้านบาทในไตรมาส 2/2563
.

หากดูแต่ Bottom-line เหมือนขาดทุนเพิ่มขึ้นอีก 4 เท่าตัว เมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ที่ผ่านมา ซึ่งไตรมาส 2 น่าจะเป็นช่วงที่ผลกระทบจาก COVID-19 หนักสุดๆ ต่อ Operation ของธุรกิจแล้ว แล้วอะไรทำให้ขนาดทุนหนักขนาดนี้ใน ไตรมาส 3
.

หากลองอ่านข้อมูลใน MD&A ของ THAI เพิ่มเติม ก็จะพบว่า สาเหตุหลักที่ทำให้ขาดทุนในไตรมาส 3 นี้ สูงขึ้นกว่าไตรมาส 2 อย่างมาก ก็เพราะรายการกำไรขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน
.

ในไตรมาส 3 มีขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนที่ 5,306 ล้านบาท ในขณะที่ไตรมาสที่แล้ว มีกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนที่ 7,422 ล้านบาท พูดง่ายๆ ก็คือ แค่เรื่องอัตราแลกเปลี่ยน (ที่ไม่ใช่เป็นเรื่อง Core Operation ) เพียงเรื่องเดียว ก็ทำให้ผลการดำเนินงานลดลงไปถึง 12,728 ล้านบาท
.

สาเหตุเกิดจากในไตรมาส 3 เงินบาทอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินอื่นๆ เช่น ยูโร เยน ดอลลาร์สหรัฐ จึงทำให้หนี้สินในสกุลเงินต่างประเทศ เช่น เงินกู้ หนี้สินสัญญาเช่า มีจำนวนที่มากขึ้น (เมื่อมองในรูปเงินบาท)
.

แล้วที่ผ่านมาการบินไทยจัดการกับปัญหานี้อย่างไรบ้าง
.

บริษัทเปิดเผยข้อมูลว่า “จากการที่บริษัทมีรายได้เป็นเงินบาท และเงินตราต่างประเทศกว่า 50 สกุล โดยมีสกุลหลักได้แก่ ดอลลาร์สหรัฐ (USD) บาท (THB) ยูโร (EUR) และเยน (JPY) และมีค่าใช้จ่ายในสกุลหลัก ได้แก่ ดอลลาร์สหรัฐ (USD) และบาท (THB) ในขณะที่มีหนี้สินระยะยาวใน 4 สกุลหลัก ได้แก่ ดอลลาร์สหรัฐ (USD) ยูโร (EUR) บาท (THB) และเยน (JPY) บริษัทได้ดำเนินการบริหารความเสี่ยงอันเนื่องจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งเป็นปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ บริษัทได้ดำเนินการโดยใช้วิธีการ Matching Currency คือ การจัดให้ค่าใช้จ่ายเป็นเงินสกุลเดียวกับรายได้มากที่สุด และกู้เงินพร้อมกับปรับโครงสร้างเงินกู้ให้สอดคล้องกับเงินสดสุทธิจากการดำเนินการ (Net Operating Cash Flow) พร้อม ๆ กับการลดความเสี่ยงของการมีหนี้เป็นเงินสกุลต่างประเทศมากเกินไป โดยการมีหนี้สกุลเงินบาทด้วยส่วนหนึ่ง เพื่อลดความผันผวนของรายการผลกำไร/ขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศในงบการเงิน ด้วยการวางแผนในการจัดหาเงินทุน และการใช้เครื่องมือทางการเงินในการทำธุรกรรมที่เหมาะสม”
.

อย่างไรก็ดี หากหันกลับมาดูที่ Core Operation จริงๆ กลับพบว่า มีขาดทุนสุทธิที่ 15,778 ล้านบาทในไตรมาส 3 ขาดทุนเพิ่มขึ้น 14% เมื่อเทียบกับไตรมาส 2 (ไม่ใช่ 4 เท่าตัวตามตัวเลข Bottom line)
.

งบการบินไทยนี่เรียกได้ว่า หากอ่าน Bottom line อย่างเดียว อาจทำให้การแปลความหมาย Core Operation ไปคนละทางกับ Fact ที่เกิดขึ้นจริงไปเลยครับ
.

บทความนี้ไม่ได้ชี้นำหรือให้คำแนะนำการซื้อขายหลักทรัพย์ โปรดศึกษาข้อมูลจากบริษัทอย่างละเอียดก่อนการตัดสินใจลงทุนครับ

บทความเกี่ยวกับ THAI :

งบการบินไทย Q1/2020 และ Q2/2020 ออกแล้ว และจริงหรือไม่ที่มีคนบอกว่า “ยิ่งบินยิ่งเจ๊ง”

https://www.facebook.com/212447799361036/posts/655365525069259/

พฤศจิกายน 11, 2020
© 2022 Accounting-Analysis.com All rights reserved.
0
    0
    ตะกร้าสินค้า
    ตะกร้าสินค้าว่างเปล่าย้อนกลับ