ข้อมูลรายได้และกำไรของร้านชานมไข่มุกชื่อดัง ปี 2560 ตามรูป พบว่า
📍 5 ร้านจาก 9 ร้านมีผลประกอบการเป็นกำไร
📍 มีเพียง 2 ร้านเท่านั้นที่มี Net Profit Margin (NPM) เป็นเลข 2 หลัก ได้แก่ KOI The และ KYOTO INARI
สิ่งที่น่าสนใจ คือ หากมองในภาพรวม พบว่า ทั้ง 9 Brand มีรายได้รวม 554.8 ล้านบาท แต่มีกำไรรวม 6.3 ล้านบาท หรือ Net Profit Margin (NPM) = 1.14 % เท่านั้น (ขายของ 100 บาท ได้กำไร 1.14 บาท)
เมื่อเปรียบเทียบกับธุรกิจปั๊มน้ำมัน ที่เป็นธุรกิจที่มี Margin ต่ำ พบว่า ปี 2560
📍 ปั๊ม PT มี NPM = 1.08 % (รายได้หลัก 84,624.6 ลบ. กำไรสุทธิ 913.1 ลบ.)
📍 ปั๊ม Susco มี NPM = 0.96 % (รายได้หลัก 23,095.5 ลบ. กำไรสุทธิ 222.5 ลบ.)
[จริงๆ แอดอยากใช้ตัวเลข ปั๊ม ปตท. กับ บางจาก เหมือนกันนะ แต่ด้วยข้อมูลราย Segment ไม่เอื้อครับ]
อย่างไรก็ดีหากเปรียบเทียบกับธุรกิจเครื่องดื่มอย่าง Starbucks เราจะเห็น Net Profit Margin สูงถึง 18.3 % ในปีที่ผ่าน (รายได้สุทธิ 24,719.5 MUSD กำไรสุทธิ 4,518.3 MUSD)
ดังนั้นธุรกิจชานมไข่มุกในประเทศไทย ปี 2560 จึงมีอัตรากำไรมากกว่าการขายน้ำมันตามปั๊มอยู่หน่อยเดียวเท่านั้น
เรียกได้ว่า ขายน้ำมันลิตรละสามสิบ กับขายชานมแก้วละค่อนร้อย … อัตรากำไรไม่ได้หนีกันมากนัก (รู้สึกตกใจกับตัวเลข เล็กน้อยถึงปานกลาง)
หากตัวเลขที่เห็น ทำให้เกิดอาการค้านสายตาเป็นอย่างมาก (เพราะในปีที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน ทั้งตัวผู้อ่านและคนรอบข้างต่างสั่งชานมไข่มุกกันอย่างเมามันจนสั่นคลอนเงินในกระเป๋าไปไม่น้อย) ก็ขอให้รองบปี 2561 ของบริษัทชานมไข่มุกเหล่านี้ออกมาอีกสักรอบ เราอาจจะเห็นบริษัทที่ขาดทุน พลิกกลับมาเป็นกำไรก็เป็นได้ครับ
และแน่นอนว่าหากบริษัทใดวาง Positioning ตัวเองเป็นร้านเครื่องดื่มที่มีความ Premium ตัวเลข NPM เกือบๆ 20% (เหมือน Starbucks) ก็น่าจะเป็นเป้าหมายถัดไปของร้านเหล่านี้ครับ