[สินค้าของห้างดังๆ ตีราคากันด้วยวิธีไหนกัน]
ผมคิดว่าหลายๆ ท่านคงเคยได้ยินวิธีการวัดมูลค่าต้นทุนของสินค้าคงเหลือ หรือ Inventory ที่ ณ วันนี้ มี 3 วิธีให้เลือกใช้ คือ 1. FIFO (First-In, Fist-Out : วิธีเข้าก่อน – ออกก่อน) 2. Weighted Average Cost (วิธีต้นทุนถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก) และ 3. Specific Identification (วิธีราคาเจาะจง)
หลายท่าน (ที่อายุถึง ฮ่าๆ) อาจเคยทราบว่ายังมีอีก 1 วิธี คือ LIFO (Last-In, First-Out : วิธีเข้าหลัง – ออกก่อน) แต่วิธีนี้เลิกใช้ไปตั้งแต่ปี 2551 แล้วนะครับ
กลับมาที่ 3 วิธีที่สามารถใช้ได้ ตามหลักการแล้วจะ Reserve วิธี Specific Identification ไว้ให้ใช้สำหรับสินค้าที่โดย Nature ไม่สามารถสลับสับเปลี่ยนกันได้ พูดง่ายๆคือ สินค้ามีความเป็นเอกลักษณ์/เฉพาะเจาะจงระดับนึง ถึงอนุญาตให้ใช้วิธีการนี้ครับ
ถ้าเรามาดูอุตสาหกรรมที่เรียกว่าสินค้าเป็นตัว Drive ธุรกิจที่สำคัญที่เราคุ้นเคยกันดี นั่นก็คือห้างสรรพสินค้า หรือร้านค้าสะดวกซื้อต่างๆ ที่มีสินค้ามากมาย(มหาศาล) นั่นเองครับ
พูดแค่นี้ก็ต้องตัด Choice วิธี Specific Identification ไปได้เลย เพราะโดย Nature สินค้าในห้างนั้นมีเป็น Lot ใหญ่ๆ แต่ละชิ้นซ้ำๆกันแน่นอนครับ ดังนั้นจึงเหลือแต่วิธี FIFO และ Average Cost ที่สามารถใช้วัดมูลค่า Inventory ได้
เรามาดูกันว่าสินค้าของห้างดังๆ ตีราคากันด้วยวิธีไหนกันครับ
ผมลอง Survey จากห้างดังๆ (ซื้อมาขายไป) ในตลาดหลักทรัพย์ฯ ก็พบว่าไม่มีใครใช้ FIFO เลยครับ ใช้ Average Cost กันหมด (ผมกลับไปดู BIGC สมัยก่อนที่จะถูก BJC ซื้อกิจการ ก็ใช้วิธี Average Cost)
ซึ่งคำว่า Average Cost มันก็มี Detail ของมันอีกนิดหน่อยครับ ถ้าเป็น Weighted Average ก็หมายความว่า ปิดบัญชีทีนึงก็คำนวณ Cost ฝั่งขาซื้อถัวต้นทุนทั้งหมดในงวดทีนึง แต่ถ้าเป็น Moving Average ก็หมายความว่า เมื่อซื้อสินค้าเข้ามา Lot นึง ก็คิดต้นทุนถัวใหม่ทีนึง (พูดง่ายๆก็คือ Moving Average จะคิดต้นทุนใหม่อยู่ตลอดเวลา ทุกๆ ครั้งที่มีการซื้อของนั่นเอง)
ก็ปรากฏว่า Weighted Average เป็นวิธีที่ห้างร้านค้าปลีกเลือกใช้กัน ส่วน Moving Average จะมีเพียง Robinson ที่ใช้ครับ
ทั้งสองวิธีก็มีความ Sensitive ต่อราคาสินค้าไม่เหมือนกันครับ ถ้าราคาสินค้าที่เราซื้อเข้ามาขายกำลังอยู่ในช่วง “ขาขึ้น” วิธี Weighted Average ก็จะให้ตัวเลขต้นทุนสินค้าที่ขาย ที่สูงกว่าวิธี Moving Average (เพราะวิธี Weighted Average เอาราคาสินค้าช่วงสูงๆ มาถัวสินค้าทุก Lot สำหรับงวดนั้นๆ) ซึ่งหมายความว่ากำไรของบริษัทที่ใช้วิธี Weighted Average ก็จะต่ำว่าบริษัทที่ใช้วิธี Moving Average ในภาวะดังกล่าว (บน assumption ว่าราคาขายเท่ากัน และทุกอย่างเหมือนกันนะ)
แต่หากราคาสินค้าที่เราซื้อเข้ามาขายกำลังอยู่ในช่วง “ขาลง” ผลกระทบก็จะเป็นในทางกลับกันครับ
อ้อ…สำหรับ CPALL และ MAKRO ก็ไม่ต้องแปลกใจว่าทำไมเหมือนกัน เพราะอีกประเด็นนึงคือ MAKRO ถือเป็นบริษัทย่อยของ CPALL ซึ่งก็ควรจะมีนโยบายบัญชีที่เหมือนกัน (ถ้าไม่เหมือนกัน ก็ต้องมาปรับตัวเลขกันอีกรอบ … คงยุ่งน่าดู)