• LOGIN
  • ไม่มีสินค้าในตะกร้า

เมื่อ SCG ต้องด้อยค่าสินทรัพย์ กับ Communication Tactics ที่นำมาใช้

[เมื่อ SCG ต้องด้อยค่าสินทรัพย์ กับ Communication Tactics ที่นำมาใช้]

จบกันไปแล้วกับฤดูกาลประกาศงบไตรมาส 3 ที่เพิ่งจบไปเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา สำหรับบริษัทที่มีรอบระยะเวลาบัญชีปกติ 1 ม.ค. – 31 ธ.ค.

เป็นที่อดห่วงกันไม่ได้กับผลงาน (และราคาหุ้น ?) ของบริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง SCG (ต่อไปนี้จะเรียกว่า SCC ตามชื่อย่อใน SET ครับ) ซึ่งนอกจากกำไรตามปกติส่วนใหญ่ที่มาจากธุรกิจ Chemical จะได้รับแรงกดดันจาก Spread ที่แคบลงแล้ว ใน Q3/2561 SCC ก็ยัง Surprise ตลาด ด้วยการตั้ง Impairment (ด้อยค่าสินทรัพย์) อีก 1,670 ล้านบาท โดยส่วนใหญ่มาจากธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง

เมื่อต้องตั้ง Impairment ยอดไม่น้อยขนาดนี้ SCC จะมี Communication Tactics ที่น่าสนใจอย่างไรกันบ้าง …เรามาดูครับ

เมื่อเที่ยงวันที่ 24 ต.ค. ที่ผ่านมา SCC ได้ประกาศตัวเลขกำไร (ก่อนสอบทาน) พร้อมทั้งคำอธิบายและการวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ (MD&A) ซึ่งกำไรงวด Q3/2561 นี้ ตัวเลขเกิดอาการ “หลุดหมื่นล้าน” ไปอยู่ที่ 9,473 ล้านบาทครับ

ถ้าเราเปิด MD&A จะเห็นว่า SCC ชี้แจงถึงการตั้ง Impairment (ด้อยค่าสินทรัพย์) 1,670 ล้านบาท ไว้ที่ประโยคแรกๆของ MD&A และทันทีหลังจากประโยคที่บอกว่ามีกำไร 9,473 ล้านบาทครับ (เหมืนกับพยายามจะบอกว่าพันหกนั้นไม่ปกติ บวกกลับสิครับท่าน)

หากเราย้อนไปดูตัวเลข “กำไร” Q3/2561 ที่เหล่านักวิเคราะห์ได้คาดการณ์ไว้ก่อนที่จะมีการประกาศตัวเลขกำไรจริง จะเห็นได้ว่าระดับกำไรนั้นทะลุ “หมื่นล้าน” ทั้งสิ้นครับ

แน่นอนครับ เมื่อมีการคาดการณ์ (คาดหวัง) ผู้ที่ถูกคาดหวังย่อมต้องพยายามทำให้ Meet Expectation ให้ได้ครับ

แต่เมื่อ Fact จริงๆที่ออกมา (กำไร 9,473 ล้าน) ไม่ Meet Expectation (กำไรหมื่นล้าน) การอธิบายหรือการนำเสนอมุมมองเพิ่มเติม เพื่อให้ Meet Expectation ย่อมเป็นสิ่งจำเป็น (ตราบใดที่ไม่ได้โกหกหรือหลอกลวงนะครับ)

ในวันเดียวกันกับการประกาศกำไร SCC ได้มีการประชุมนักวิเคราะห์หรือที่เรียกว่า Analyst Meeting โดย Breakdown กำไร Q3/18 เป็นดังภาพครับ

จะเห็นว่า SCC พยายามจะบอกว่าแม้กำไรสุทธิตามงบการเงินจะออกมา 9,473 ล้านบาท จริงๆแล้วมี Non-recurring items อยู่นะ หากจะวิเคราะห์กำไรจากการดำเนินงานตามปกติจริงๆ เอาเจ้าขาดทุนนี้ไปบวกกลับก่อน ซึ่งหนึ่งในนั้นคือขาดทุนจากการด้อยค่า 1,670 ล้านบาทนั่นเองครับ

ด้วยความที่แอดเหลือบตาไปเห็นว่า Q3/17 ก็มี Impairment 380 ล้านบาท เลยอยากรู้ว่าตอนนั้นด้อยค่าเรื่องอะไรหว่า ใน* ก็ไม่มีคำอธิบาย เลยย้อนไปดูไตรมาสเก่าๆหวังว่าจะมี *อธิบายครับ

เมื่อแอดย้อนไปดู Presentation Q2/18 ก็พบความว่างเปล่าครับ 5555 ….ไม่มีบรรทัด Impairment เหมือน Q3/18 แม้ว่า Q3/17 จะมียอด Impairment อยู่จริงๆ ตาม Presentation Q3/18 ระบุไว้ก็ตาม

(พูดง่ายๆก็คือเจ้าบรรทัด Impairment เพิ่งถูกแยกออกมาใน Q3/18 นี้เองครับ)

การที่อยู่ดีๆจะแยก หรือจะหุบบรรทัด แอดเชื่อเหลือเกินครับ ว่ามันมีเหตุผลและที่มาที่ไปแน่นอนครับ มาดูกันครับ

Communication Tactics #1 : แค่ปรับ Dimension เรื่อง Non-Recurring ทุกอย่างก็ดู OK ขึ้น

แอดลองคิดย้อนกลับนะครับว่า

🔺 ถ้า SCC ยังคงแสดง Profit Breakdown ด้วย Pattern แบบเดิม (คือไม่มีบรรทัด Impairment แยกออกมา) สิ่งที่เกิดขึ้นคือภาพจะเป็นด้านซ้ายครับ จะกลายเป็นว่า กำไรสุทธิ 9,473 ล้านบาท แต่มีกำไรที่ไม่ปกติ 730 ล้านบาท ดังนั้นจะทำให้นักลงทุนเข้าใจว่า อ่อ กำไรตามปกติจริงๆของ SCC ควรจะเท่ากับ 8,743 ล้านบาท (9,473 – 730)

….. แบบนี้กลายเป็นว่า กำไรปกติ “หลุดหมื่นล้าน” …. หนักกว่าเดิมอีกครับ

(แอดขอไม่รวมรายการ Inventory Gain(Loss) นะครับ ใครติดตามวงการ PetChem & Refine จะพอรู้ว่าเรื่องนี้มันปกติไปแล้วสำหรับ Industry นี้ครับ)

🔺แต่ถ้าคิดใหม่ทำใหม่ โดยแยก Impairment ออกมาเป็นอีกบรรทัด ภาพจะเป็นด้านขวามือ ซึ่งจะทำให้ผู้ลงทุนเข้าใจมากขึ้นว่าจริงๆแล้วงวดนี้มีขาดทุนที่ไม่ปกติอยู่ที่ 940 ล้านบาท (1,670 – 730) ซึ่งเจ้า 940 ล้านบาทนี้ไม่ควรนำมารวมในกำไรตามปกติ ดังนั้นแม้ว่ากำไรสุทธิจะเท่ากับ 9,473 ล้านบาท แต่หากมองกำไร “ตามปกติ” จริงๆ ก็ควรจะเป็น 9,473 + 940 = 10,413 ล้านบาท

….เห็นไหมครับ กำไร “ปกติ” ทะลุหมื่นล้านแล้ว

ซึ่งใน Q3/2561 SCC ก็ใช้วิธีการนี้ในการบอกที่มาของกำไรครับ ซึ่งแอดลองไปเปิดบทวิเคราะห์ของเหล่า Analysts หลังจากที่ SCC ประกาศงบแล้ว ต่างก็ระบุตรงกันครับว่าตัวเลขกำไร Q3/2561 เป็นไปตามคาดกันถ้วนหน้า เพราะเหล่า Analysts ทั้งหลายเอาขาดทุนที่ไม่ปกติ 940 ล้านบาท บวกกลับ ดังนั้นตัวเลขกำไร “ปกติ” เลยทะลุหมื่นล้านตามที่คาดการณ์กันไปเรียบร้อยครับ

จึงเป็นที่มาที่แอดขอตั้งชื่อว่า “แค่ปรับ Dimension เรื่อง Non-Recurring ทุกอย่างก็ดู OK ขึ้น” นั่นเองครับ

Communication Tactics #2 : รวม Loss หลายๆอย่างไว้ แล้วเรียกมันว่า “Impairment : Non-recurring”

การประกาศกำไรของ SCC แบ่งออกเป็น 2 รอบครับ

🔺 รอบแรกเรียกว่า Un-reviewed (ยังไม่ผ่านการสอบทานจากผู้สอบบัญชี) ซึ่งจะมีแค่หน้างบการเงิน + MD&A โดยที่ไม่มีรายละเอียดประกอบงบ (หมายเหตุประกอบงบฯ)

🔺 รอบที่สองเรียกว่า Reviewed ซึ่งจะมีข้อมูลทุกอย่างครบถ้วน
SCC ประกาศกำไรรอบแรกระบุว่า “ไตรมาสที่ 3 ปี 2561 เอสซีจีมีกำไรสำหรับงวดเท่ากับ 9,473 ล้านบาท โดยในไตรมาสนี้ รวมขาดทุนจากการด้อยค่าสินทรัพย์ซึ่งมีการประเมินเป็นประจำทุกปี 1,670 ล้านบาท ส่วนใหญ่จากธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง 1,320 ล้านบาท” โดยไม่มีรายละเอียดไปมากกว่านี้ครับ

เมื่องบการเงินรอบที่สองออกมาแอดจึงเข้าไปดูว่าที่บอกว่าด้อยค่านั้นประกอบไปด้วยอะไรบ้าง ก็เห็นตามรูปเลยครับ คือมีทั้ง ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ และค่าความนิยม และที่น่าสนใจคือ มีขาดทุนจากสินค้าคงเหลือรวมอยู่ด้วยอีก 259 ล้านบาท และทั้งหมดนี้อยู่ในบรรทัด “ค่าใช้จ่ายในการบริหาร” ในหน้างบกำไรขาดทุน

(ไม่ต้องตกใจว่า 1,732 ไม่ตรงกับเลข Impairment 1,670 ที่เราคุยกันมาตลอดนะครับ แอดเข้าใจว่า….เป็นมุมมอง 100% สำหรับ 1,730 กับ Equity%:ตามสัดส่วนที่ SCC ถือหุ้นในบริษัทนั้นจริง สำหรับเลข 1,670 ครับ)

ประเด็นที่แอดพยายามจะบอกคือคำว่า “ด้อยค่า หรือ Impairment” ตามหลักการจริงๆแล้ว เราจะไม่ใช้กับสินทรัพย์ประเภท “สินค้าคงเหลือ” นะครับ

แต่เมื่อเป็นการสื่อสารผ่านรูปแบบของ MD&A หรือ Presentation รวมทั้งยอดเงินไม่ได้เยอะมาก การรวมรายการดังกล่าวเข้าไว้ในคำว่า Impairment ก็ไม่ได้จะทำให้เกิด Miscommunication อะไรมากมาย

แต่ในฐานะผู้อ่าน/ผู้ใช้ข้อมูลจะต้องตระหนักไว้ครับว่า MD&A หรือ Presentation ของแต่ละบริษัทย่อมมี Nickname หรือศัพท์แสงเฉพาะที่อาจไม่เหมือนกับหลักการบัญชีครับ และหากตัวเลขนี้เกิดเยอะขึ้นมาเมื่อไหร่ การตีความจะต่างกันออกไปเลยครับ

🔺 ขาดทุนจากการตีราคาสินค้าคงเหลือ จะบอกแค่ว่า สินค้าคงเหลือที่อยู่ใน Stock นั้นถ้าจะขาย จะได้ไม่เท่ากับราคาทุน อาจเป็นเพราะราคาตลาด(ราคาขาย)ที่ลดลง หรือสินค้าล้าสมัย ณ วันสิ้นงวด

🔺 การด้อยค่ารายการที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ และค่าความ
นิยม จะบอกไปถึงว่าธุรกิจในอนาคตเริ่มไม่ดี Discounted Cash Flow แล้วยังต่ำกว่าราคาทุนในบัญชี … อันหลังนี้ดูเป็นปัญหาระยะยาวหนักกว่า Bullet แรกมากๆเลยนะครับ

มาถึงตอนนี้ อ่านแล้วก็ยังมาไม่ถึงว่าจะรวมการตีราคาฯสินค้าไว้ใน Impairment เพื่ออะไรใช่ไหมครับ 555 ….ยังงี้ครับ ถ้าผมเอา 259 ล้านบาทออก จะกลายเป็นว่า ตัวเลขขาดทุนที่ไม่ปกติ 940 ล้านบาท จะเหลือเพียง 681 ล้านบาทที่จะนำไปบวกกลับ และแน่นอนว่า กำไรปกติจะเหลือเพียง 10,154 ล้านบาทเท่านั้น ซึ่งทำให้ดูเหมือนจะใกล้หลุดหมื่นล้านเต็มทนนั่นเองครับ

นอกจากนี้แอดมีข้อสังเกตว่า ขาดทุนจากการตีราคาสินค้าคงเหลือของ SCC นั้นรวมไว้ใน “ค่าใช้จ่ายในการบริหาร” ในขณะที่บริษัททั่วๆไป หรือในทาง Academic หลายท่านให้ความเห็นว่าขาดทุนดังกล่าว ควรรวมไว้ใน “ต้นทุนขาย” มากกว่า “ค่าใช้จ่ายในการบริหาร” ดังนั้นหากจะนำตัวเลขไปวิเคราะห์ต่อ อย่าลืมปรับกันด้วยนะครับ

Communication Tactics #3 : บอกว่ามันเป็นเรื่องปกติ

ถ้าเราดูทั้ง Wording ทั้ง MD&A รวมถึงการตอบของผู้บริหารใน Analyst meeting จะพบว่า Wording ที่ว่า “เป็นประจำทุกปี” ยังกับนัดกันมา ซึ่งแน่นอนว่าจะทำให้ Perception ของผู้รับสารดู Soft ลง หรือมองเป็นเรื่องปกติที่ต้องทำกันอยู่แล้ว (หรืออาจเข้าใจเลยไปถึงว่ามีการตี “ขาดทุน” กันทุกปีอยู่แล้ว)

สิ่งที่แอดขอให้ข้อสังเกตคือ สินทรัพย์ 3 รายการที่ว่านั้น หากว่ากันตามหลักการจริงๆ สิ่งที่จะต้อง Test ว่าด้อยค่ากันทุกปี [Test ด้อยค่า = การเทียบราคาตามบัญชี กับราคาที่ควรจะเป็น] แน่ๆ คือ ค่าความนิยมและสินค้าคงเหลือ

ส่วนที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ นั้นเราจะ Test ด้อยค่าก็ต่อเมื่อมีข้อบ่งชี้เท่านั้นนะครับ (ข้อบ่งชี้เช่น Economic ไม่ดี และคาดว่ากระทบต่อ Asset ชิ้นนี้แน่ๆ หรือ Asset เกิดชำรุดหรือล้าสมัย) หากไม่มีข้อบ่งชี้ บริษัทเองก็ไม่มีหน้าที่ที่จะต้อง Test ด้อยค่าทุกปีแต่อย่างใดครับ

ดังนั้น Communication Tactics #3 นี้ ถ้าว่ากันตามตรงก็จะถูกต้องเฉพาะรายการสินค้าคงเหลือและค่าความนิยมเท่านั้น ส่วนที่ดิน อาคารและอุปกรณ์จะไม่ถือว่าถูกต้องนัก แต่ด้วยการสื่อสารให้เข้าใจง่าย และ Portion Loss จากสินค้าคงเหลือและค่าความนิยมค่อนข้างใหญ่ก็อาจเป็นเหตุในการนำเสนอในภาพรวมเป็นไปเช่นนั้น

[เป็นไปได้ว่า PPE อาจถูก Test ทุกปีถ้ารวมอยู่ใน CGU ที่มี Goodwill แต่โปรดดู “ธุรกิจอื่นๆ” ที่ไม่มีค่าความนิยม แต่ระบุว่า – PPE – มีการ Test ทุกๆปี]

จะเห็นได้ว่า ไม่ว่าจะเป็น Tactics
🔺 “แค่ปรับ Dimension เรื่อง Non-Recurring ทุกอย่างก็ดู OK ขึ้น”
🔺 “รวม Loss หลายๆอย่างไว้ แล้วเรียกมันว่า “Impairment : Non-recurring”
🔺 “บอกว่ามันเป็นเรื่องปกติ”

ตาม Case นี้ แอดเห็นว่าเป็นการ Manage Communication ที่ไม่ได้ไปบิดตัวเลขจริงในงบการเงิน บริษัทเพียงแต่พยายามที่จะนำเสนอกำไรใน Dimension อื่น เพื่อบรรเทาการผิดหวังของตลาดจากตัวเลขกำไรที่เกิดขึ้นจริง

สุดท้ายนี้แอดอยากฝากไว้ว่า สิ่งที่สำคัญที่สุดในแง่ผู้จัดทำข้อมูล คือ การนำเสนอข้อมูลใน Dimension อื่นๆ นั้นจะต้องไม่บิดเบือน Fact และในขณะเดียวกัน ควรสามารถบอก Fact ให้ได้มากกว่าที่งบการเงินสื่อสารได้

และในทางตรงกันข้าม ในฐานะผู้ใช้ข้อมูลจากงบการเงินเอง ก็จะต้องรู้เท่าทันการปรับ Dimension ของบริษัท และที่สำคัญคือจะต้องรู้ว่า Fact จริงๆคืออะไรกันแน่นะครับ

พฤศจิกายน 19, 2018
© 2022 Accounting-Analysis.com All rights reserved.
0
    0
    ตะกร้าสินค้า
    ตะกร้าสินค้าว่างเปล่าย้อนกลับ