[สรุป TFRIC 22 : รายการที่เป็นเงินตราต่างประเทศ และสิ่งตอบแทนรับหรือจ่ายล่วงหน้า]
📌 หากมีการรับจ่ายล่วงหน้า ด้วย Foreign Currency ให้รับรู้รายการสินทรัพย์ รายได้ หรือค่าใช้จ่าย ด้วย Rate ณ วันที่ “รับ/จ่ายเงิน” (กรณี non-monetary item)
📌 ต้องมีการตีความนี้ออกมา เพราะอดีต มีการตีความสองแบบ คือ
🔸1. รับรู้สินทรัพย์ รายได้ ค่าใช้จ่าย ด้วย Rate ณ วันที่รับรู้รายการ (โดยไม่สนใจว่ากิจการจะมีการรับจ่ายเงินล่วงหน้าด้วย Rate ที่ต่างจากเวลาที่รับรู้สินทรัพย์ รายได้ หรือค่าใช้จ่าย)
🔸 2. รับรู้สินทรัพย์ รายได้ ค่าใช้จ่าย ด้วย Rate ณ วันที่มีการรับจ่ายล่วงหน้า
📌 สุดท้ายการตีความให้เลือกแบบที่ 2.
📌 ดังนั้นกรณีที่มีการรับจ่ายเงินล่วงหน้า รายการสินทรัพย์ รายได้ หรือค่าใช้จ่าย จะ Reflect(วัดมูลค่า) ด้วย Rate ที่มีการรับจ่ายเงินล่วงหน้าตามจริง
📌 ณ เวลานี้การตีความมีผลบังคับใช้แล้ว (บังคับใช้ 1 ม.ค. 2562)
📌 Transition มี 2 แบบใหญ่ๆ คือ
🔸 1. ปรับย้อนหลัง … ถ้าเป็นรายได้ ค่าใช้จ่าย ก็ปรับรอบเดียวจบ (แต่ต้องไปนั่งขุดข้อมูลอีกอาน) แต่ถ้าเป็นสินทรัพย์ อย่าลืมว่าพอปรับราคาทุนแล้ว มันพันค่าเสื่อมราคาอีกนะครับ
🔸 2. ปรับแบบทันทีเป็นต้นไป
📌 Scan transaction คร่าวๆ ที่อาจมีประเด็น
📌 เรื่องนี้ถ้าบริษัทใหญ่หน่อยอาจ Set ระบบในการรับรู้รายได้ค่าใช้จ่ายที่เป็น foreign currency ด้วย Rate ณ วันที่ booking รายได้ค่าใช้จ่าย (โดยไม่สนว่าจะมีการรับจ่ายล่วงหน้าด้วย rate อะไรมา) ดังนั้นอาจมีผลกระทบอยู่บ้าง … เดาว่าผลกระทบหลักๆจะเป็นการ reclass งบ p/l ระหว่าง FX G/L กับรายได้ หรือค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้อง
📌ส่วนกรณีสินทรัพย์ถ้าเป็นการ “ก่อสร้าง” ใหญ่ๆ ที่บันทึกผ่าน AUC ไม่น่าห่วงมากนัก แต่ที่จะห่วงคือ ซื้อสินทรัพย์เป็นชิ้นๆ แบบมีจ่ายล่วงหน้า
📌 ย้ำอีกรอบว่าที่บอกว่าใช้ Rate ณ วันที่รับจ่ายเงินนั้น หมายถึง ใช้กับส่วนที่เป็นการรับจ่าย “ล่วงหน้า” นะครับ ถ้าซื้อของแล้ว รับของแล้ว แต่ยังไม่จ่ายเงิน… Rate ที่ใช้บันทึกสินทรัพย์ก็ยังคงต้องเป็น Rate ณ วันที่รู้รับสินทรัพย์ ไม่ใช่ Rate ที่จะจ่ายเงินกัน “ภายหลัง”
📌 สภาฯ ได้ publish ตัวอย่างอ่านง่ายๆ ใน newsletter ฉบับเดือน มี.ค. 62 ตามรูปเลยครับ (Credit. TFAC)