[งบการบินไทย Q1/2020 และ Q2/2020 ออกแล้ว และจริงหรือไม่ที่มีคนบอกว่า “ยิ่งบินยิ่งเจ๊ง”]
การบินไทยได้นำส่งหนังสือนำส่งงบการเงิน Q1/2020 และ Q2/2020 เมื่อช่วงค่ำที่ผ่านมา
สิ่งที่น่าสนใจคือตัวเลข “ขาดทุนสุทธิ”
Q1/2020 ขาดทุน 22,676 ล้านบาท
Q2/2020 ขาดทุน 5,430 ล้านบาท
จนหลายคนเข้าใจไปว่า “การหยุดบินใน Q2 ยังจะขาดทุนน้อยกว่าการฝืนบินใน Q1” (ใครเป็นเจ้าของแล้วเจอประโยคนี้ก็แอบจุกนะครับ เหมือนบอกว่ายิ่งบินยิ่งเจ๊ง !)
แต่แอดคิดว่ามันแปลกครับ … แอดเลยลองเอาข้อมูลจากหนังสือนำส่งงบการเงินมาลองคำนวณดูก็พบว่า
หากพิจารณาผลการดำเนินงานจาก Core Operation จริงๆแล้ว อาจต้องกลับความเข้าใจกันใหม่ครับ
ตัวเลข Bottom Line ที่ออกมาในภาพดังกล่าว ก็เพราะว่า
ใน Q1/2020 มีผลขาดทุน ที่ไม่ได้เกี่ยวกับ Operation โดยตรงประมาณ 17,870 ล้านบาท ตามที่บริษัทเปิดเผยข้อมูลไว้
ในขณะที่ Q2/2020 กลับมีกำไรที่ไม่ได้เกี่ยวกับ Operation 8,494 ล้านบาท ตามที่บริษัทได้เปิดเผยข้อมูลไว้
ไปกลับก็ประมาณ 26,000 ล้านบาทแล้วครับ
ดังนั้นในการวิเคราะห์จริงๆ หากต้องการวัด Performance ในด้าน Operation น่าจะต้องวัดที่ กำไร (ขาดทุน) จากการดำเนินงาน ก็จะเห็นว่า ใน Q2/2020 ขาดทุนถึง 13,847 ล้านบาท ในขณะที่ Q1/2020 ขาดทุนอยู่ที่ 4,806 ล้านบาทเท่านั้น
ดังนั้นคำพูดที่ว่า “การหยุดบินใน Q2 ยังจะขาดทุนน้อยกว่าการฝืนบินใน Q1” นั้น เป็นความจริง … ถ้าเราดูแค่ Bottom Line
แต่หากต้องการวัดที่ Core Operation จริงๆ / มองใน Long-term จริงๆ ผลลัพธ์ก็ตรงกันข้าม…กลายเป็นว่า “การหยุดบินใน Q2 ขาดทุน “มากกว่า” การฝืนบินใน Q1″ (หรือแปลไ้ด้ว่า ยิ่งไม่บินนี่สิ ยิ่งจะเจ๊งหนักกว่าเดิม)
อย่าลืมนะครับใน Industry ที่เป็น Capital Intensive ค่าเสื่อมราคาวิ่งทุกวันครับแม้เครื่องบินจอดอยู่เฉยๆ ก็ตาม
Case นี้ผมถือว่าเป็นตัวอย่างที่ดีในการวิเคราะห์งบการเงิน ว่าเราไม่ควรลืมที่จะดู Core Operation จริงๆ ของธุรกิจ ว่าเป็นอย่างไรกันแน่ โดยการเอาตัวเลขที่เป็น One-time / Non-recurring ออกไปก่อนการวิเคราะห์ครับ
และแน่นอนว่าการดูแต่ตัวเลขกำไร(ขาดทุน)สุทธิเพียงอย่างเดียว ย่อมมีโอกาสที่จะแปลความหมายไม่ตรงกับสิ่งที่ธุรกิจกำลังเผชิญอยู่นั่นเอง
บทความนี้ไม่ได้ชี้นำหรือให้คำแนะนำการซื้อขายหลักทรัพย์ โปรดศึกษาข้อมูลจากบริษัทอย่างละเอียดก่อนการตัดสินใจลงทุนครับ