• LOGIN
  • ไม่มีสินค้าในตะกร้า

9 เดือนแรกของปี 2563 บริษัทสายการบินและโรงแรม มีค่าใช้จ่าย “เลิกจ้างพนักงาน” เยอะขนาดไหน

[9 เดือนแรกของปี 2563 บริษัทสายการบินและโรงแรม มีค่าใช้จ่าย “เลิกจ้างพนักงาน” เยอะขนาดไหน]

นอกจาก COVID-19 และภาวะเศรษฐกิจโดยรวม จะมีผลกระทบต่อผลประกอบการของบริษัทโดยตรงแล้ว สถานการณ์ดังกล่าวยังมีผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสียสำคัญของบริษัทนั่นก็คือพนักงานด้วยเช่นกัน
.

ใน 9 เดือนแรกของปี 2563 กลุ่มอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบโดยตรงและรุนแรงจาก COVID-19 คงหนีไม่พ้นบริษัทในกลุ่มสายการบินและโรงแรม ซึ่งต่างปรับตัวและหาทุกวิถีทางที่จะประหยัดค่าใช้จ่ายให้ได้มากที่สุด และสุดท้ายแล้ว “ค่าใช้จ่ายพนักงาน” ก็ถูกเลือกเป็นรายการหนึ่งที่จะต้องลดทอนให้ได้ในภาวะเช่นนี้
.

เมื่อบริษัทเลิกจากพนักงาน ค่าใช้จ่ายจะลดลงทันทีหรือไม่ หรือต้องมีค่าใช้จ่ายก้อนใหญ่ ณ วันที่เลิกจ้าง ?
.

เมื่อบริษัทเสนอ Package และพนักงานยอมรับข้อเสนอของบริษัทในการเลิกจ้างแล้ว หรือแม้กระทั่งในกรณีที่บริษัทตัดสินใจเพียงฝ่ายเดียวที่จะเลิกจ้าง และได้สื่อสาร Message ดังกล่าวที่มีความชัดเจนและแน่นอนไปยังพนักงานแล้ว โดยหลักการบริษัทจะต้องรับรู้ค่าใช้จ่ายและหนี้สินจากการเลิกจ้างพนักงาน
.

หากเปรียบเทียบงบการเงินปี 2563 กับปี 2562 เราอาจเห็น Non-recurring Items ที่เป็นเรื่อง “ค่าใช้จ่ายพนักงาน” อยู่ทั้ง 2 ปี
.

ปี 2562 เป็นเรื่อง ค่าใช้จ่ายผลประโยชน์หลังออกจากงาน จาก 300 วัน เป็น 400 วัน อันเนื่องจากข้อบังคับของ พรบ. คุ้มครองแรงงาน & พรบ. แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (เกือบทุกบริษัทได้รับผลกระทบ)
.

ในขณะที่ ปี 2563 เป็นเรื่องค่าใช้จ่ายในการเลิกจ้าง (สำหรับบริษัทที่มีการเลิกจ้าง)
.

หากมองในมุมผลกระทบต่อกำไรขาดทุนในงวดอนาคต คงต้องบอกว่า ค่าใช้จ่ายการเลิกจ้างในปี 2563 ย่อมส่งผลทางบวกต่อผลประกอบการของบริษัท เนื่องจากบริษัทจะสามารถลดค่าใช้จ่ายพนักงานได้ในอนาคต และเป็นเหตุผลสำคัญที่เกือบทุกบริษัทตัดสินใจที่จะเลิกจ้างพนักงานในช่วงนี้
.

ในขณะที่ค่าใช้จ่ายพนักงานของปี 2562 เรื่อง พรบ. คุ้มครองแรงงานนั้น ไม่ได้มีผลทางบวกอย่างชัดเจนต่อรายการกำไรขาดทุนในอนาคตของบริษัท หรือพูดง่ายๆว่า พนักงานคงไม่ได้มีประสิทธิภาพในการทำงานมากขึ้นอย่างชัดเจน อันเนื่องจากได้รับ Package ค่าชดเชยหลังเกษียณเพิ่มขึ้นจาก 300 วัน เป็น 400 วัน มิหนำซ้ำหากพิจารณาลึกลงไปอีกก็จะพบว่ามีค่าใช้จ่ายต้นทุนบริการปัจจุบัน (Current Service Cost) และค่าใช้จ่ายดอกเบี้ย (Interest Cost) ในแต่ละปีที่อาจเพิ่มขึ้น เนื่องจากตัวผลประโยชน์ที่เพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน
.

อย่างไรก็ดี เป็นที่น่าสนใจว่า หากเปรียบเทียบ Non-recurring Items ที่เป็นเรื่อง “ค่าใช้จ่ายพนักงาน” ทั้ง 2 ปี ค่าใช้จ่ายเลิกจ้างพนักงานในปี 2563 ของหลายๆ บริษัท กลับสูงกว่าค่าใช้จ่ายพนักงานปี 2562 อันเนื่องจากเรื่อง พรบ. คุ้มครองแรงงานเสียอีก
.

นอกจากบริษัทที่ยกตัวอย่างแล้ว อีกหลายบริษัทก็ได้จ่อจะ Book ค่าใช้จ่ายเลิกจ้างพนักงานใน Q4/2563 ไม่ว่าจะเป็นบริษัทในกลุ่มสื่อ กลุ่มทรัพยากร ฯลฯ
.

แต่ที่แน่ๆ แอดตั้งตารอดูของ THAI กันเลยทีเดียว ด้วยตัวเลขพนักงานที่เข้าร่วมโครงการกว่า 4,900 คน ค่าใช้จ่ายก้อนนี้จะเยอะขนาดไหน คงต้องติดตามกันต่อไปครับ
.

บทความนี้ไม่ได้ชี้นำหรือให้คำแนะนำการซื้อขายหลักทรัพย์ โปรดศึกษาข้อมูลจากบริษัทอย่างละเอียดก่อนการตัดสินใจลงทุนครับ

พฤศจิกายน 19, 2020
© 2022 Accounting-Analysis.com All rights reserved.
0
    0
    ตะกร้าสินค้า
    ตะกร้าสินค้าว่างเปล่าย้อนกลับ