• LOGIN
  • ไม่มีสินค้าในตะกร้า

เงินที่ได้จาก ICO (Initial Coin Offering) มองเป็น หนี้ หรือ ทุน

[เงินที่ได้จาก ICO (Initial Coin Offering) มองเป็น หนี้ หรือ ทุน]

สัปดาห์ที่ผ่านมาข่าว ICO (Initial Coin Offerings) หรือการระดมทุนแบบดิจิทัล ในประเทศไทยก็กลับมาคึกคักอีกครั้ง จากทั้งการออกเสนอขายโทเคนดิจิทัลที่มีอสังหาริมทรัพย์หรือกระแสรายรับจากอสังหาริมทรัพย์เป็นทรัพย์สินอ้างอิง (real estate-backed ICO) อย่าง “เอสพีวี 77” ที่ได้ยื่นไฟลิ่งเสนอขาย ICO ในชื่อ “โทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุน สิริ ฮับ” เพื่อนำเงินไปลงทุนในอาคารสำนักงานสิริ แคมปัส
.
รวมไปถึงอีกตัวอย่างหนึ่งที่แม้ไม่ได้เรียกว่า ICO แต่ก็ทำให้วงการ Digital Assets มีความตื่นตัวกันอย่างมากได้แก่ การแจก Bitkub Coin (KUB) ของค่าย Bitkub ที่สามารถนำไปใช้ลดค่าธรรมเนียมในการซื้อขายบนกระดานเทรดของ Bitkub ได้ รวมถึงการเริ่มซื้อขาย KUB ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา
.
ประเด็นที่เราอาจคิดกันต่อ คือ เงินที่บริษัทผู้ออก ICO ได้รับ จะถือเป็น หนี้ หรือ ทุน ในงบการเงินของผู้ออก
.
จริงๆ แล้วเรื่องนี้ได้มีการพูดคุยกันมาสักพักหนึ่งแล้วว่ากรอบในการพิจารณาควรจะมองอย่างไร
.
ประเด็นสำคัญอยู่ที่เงื่อนไขต่างๆ ใน White Paper ที่จะมีผลต่อการตีความว่าเงินที่ได้รับจาก ICO นั้นเป็น หนี้สินทางการเงิน (Financial Liability) หนี้สินประเภทเงินรับล่วงหน้า (Unearned Revenue / Prepayment) หรือเป็นส่วนของทุน (Equity) กันแน่
.
ซึ่งสภาฯ ก็ได้เคยออก Q&A เรื่อง การบันทึกรายการบัญชีของเงินที่ได้มาจากการระดมทุนแบบดิจิทัล (ICO) ของกิจการผู้ออกสินทรัพย์ดิจิทัล ไว้ตั้งแต่ปี 2561 และแม้ว่ามาตรฐานการบัญชีที่ใช้อยู่ทุกวันนี้ได้เปลี่ยนไปแล้วจากช่วงเวลาที่ออก Q&A แต่ส่วนตัวแอดยังมองว่า “กรอบใหญ่ๆ ในการพิจารณา” รายการดังกล่าว ยังไม่น่าจะได้รับผลกระทบมากนัก จึงขอนำมาให้อ่านกันให้ “พอเป็น Idea” ว่าจุดสำคัญในการพิจารณาควรจะมองประเด็นใดเป็นหลัก
.
อย่างไรก็ดีในการนำไปใช้งานจริงต้องพึงระลึกไว้ว่ามาตรฐานการบัญชีที่ใช้อยู่ทุกวันนี้เป็นคนละฉบับกับที่ Reference อยู่ใน Q&A นะครับ
.
(ตามหมายเหตุของ Q&A ระบุไว้ว่า “หลักการที่ใช้ในการตอบคำถามนี้อ้างอิงตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินที่เกี่ยวข้องที่อ้างอิงไว้เท่านั้น และคำถาม-คำตอบนี้จะถือว่ายกเลิก เมื่อมีการปรับปรุงมาตรฐานการรายงานทางการเงินที่เกี่ยวข้อง หรือการออกมาตรฐานการรายงานทางการเงินใหม่ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องดังกล่าว ซึ่งการเปลี่ยนแปลงข้อกำหนดของมาตรฐานการรายงานทางการเงินที่อ้างอิงทำให้การให้คำตอบของสภาวิชาชีพบัญชีจะเปลี่ยนไป”)
.
ดังนั้นหากต้องใช้งานจริงๆ ก็ควรดูเงื่อนไขและข้อกำหนดตามมาตรฐานฯ ที่เกี่ยวข้องในปัจจุบันมีผลบังคับใช้อยู่ เช่น TFRS 9, TFRS 15, TAS 32 ฯลฯ ครับ
.
Source : https://acpro-std.tfac.or.th/uploads/files/QA_ICO.pdf

==================================
📣 Accounting Analysis มี Course อบรมเก็บชั่วโมง CPD (ด้านบัญชี) แบบ E-Learning คอร์สใหม่ล่าสุด :
🔥 Cryptocurrencies and Digital Assets Accounting 101 🔥
👉 เงื่อนไขดูรายละเอียดคอร์ส -> คลิกที่นี่
==================================

พฤษภาคม 22, 2021
© 2022 Accounting-Analysis.com All rights reserved.
0
    0
    ตะกร้าสินค้า
    ตะกร้าสินค้าว่างเปล่าย้อนกลับ