1. เรากำลัง Control อะไร ?
.
แม้ว่าในมุมมองทางธุรกิจ เราจะเห็นว่ากิจการได้ “เข้าลงทุน” ใน Digital Assets แต่หากเริ่มมีเงื่อนไขที่ “มากกว่า” การเข้าลงทุนปกติ เช่น มีเงื่อนไขหรือข้อกำหนดของการซื้อคืน สิ่งที่ต้องให้ความสำคัญ คือ กิจการได้มีการ “ควบคุม” ใน Digital Assets เหล่านั้นจริงๆ หรือไม่ ดังที่ได้ทิ้งท้ายไว้ในตอนที่ 1 ว่า
.
“ก่อนจะ Dr. Assets เข้างบ ให้ดูก่อนว่า เรามี Control ใน Assets ชิ้นนั้นๆ จริงหรือไม่”
.
ซึ่งจากตัวอย่างของ PROEN ในตอนที่ 1 ก็แสดงให้เห็นว่า แม้ธุรกรรมในมุมมองทางธุรกิจจะเป็นการเข้าลงทุนใน Digital Assets แต่เมื่อต้องตีความตามมุมมองของการรายงานทางการเงิน ผลลัพธ์ที่ได้กลับกลายเป็นว่ากิจการไม่ได้มี “การควบคุม” ในตัว Digital Assets แต่เป็นการลงทุนใน “สินทรัพย์ทางการเงิน” ประหนึ่งเป็นเงินให้กู้ยืมรายการหนึ่ง
.
.
.
2. จริงหรือไม่ ที่ “Digital Assets = Intangible Assets / Inventories”
.
หากพิจารณาแล้วว่ากิจการมีการ “ควบคุม” ใน Digital Assets เหล่านั้นจริงๆ การพิจารณาด้านการรายงานทางการเงินสำหรับเรื่อง Digital Assets ในมุมของการถือ (Holding) นั้น ก็ไม่ควรจำกัดคำตอบของการลงบัญชี Digital Assets ดังกล่าวอยู่เพียง “สินทรัพย์ไม่มีตัวตน (Intangible Assets)” หรือ “สินค้าคงเหลือ (Inventories)” เท่านั้น
.
ยังคงมีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนจากการด่วนสรุปว่าเมื่อเจอคำว่า “Digital Assets” หรือ “Cryptocurrency (ในความหมายทั่วๆไป)” แล้ว ถ้าไม่เป็นสินทรัพย์ไม่มีตัวตน (Intangible Assets) ก็ต้องเป็น สินค้าคงเหลือ (Inventory) ในรายงานทางการเงิน
.
อย่างไรก็ดีต้องพึงระลึกไว้เสมอ สำหรับประโยคที่ว่า “สำหรับ Cryptocurrency ถ้าไม่เป็น สินทรัพย์ไม่มีตัวตน (Intangible Assets) ก็ต้องเป็น สินค้าคงเหลือ (Inventory)” นั้น เป็นบทสรุปสั้น ของการตีความตาม Agenda Decision : Holdings of Cryptocurrencies — June 2019
.
ซึ่งการตีความดังกล่าวได้นิยามคำว่า Cryptocurrency ไว้อย่างเฉพาะเจาะจง (หรือจะบอกว่ามี Scope ที่ค่อนข้างแคบก็ไม่น่าจะเกินจริง) กล่าวคือ จะต้องเข้าเงื่อนไขทั้ง 3 ข้อ ดังนี้
.
1. a digital or virtual currency recorded on a distributed ledger that uses cryptography for security (เป็นสกุลเงินดิจิทัลหรือสกุลเงินเสมือนซึ่งถูกบันทึกอยู่บนการประมวลผลแบบกระจายศูนย์ที่ใช้วิทยาการเข้ารหัสลับเพื่อความปลอดภัย)
.
2. not issued by a jurisdictional authority or other party (ไม่ได้ออกโดยหน่วยงานกำกับดูแลหรือหน่วยงานอื่น) และ
.
3. does not give rise to a contract between the holder and another party (ไม่ได้ก่อให้เกิดสัญญาระหว่างผู้ถือกับอีกฝ่ายหนึ่ง)
.
จึงหมายความว่าหาก Digital Assets ที่กิจการได้ถือไว้ “ไม่เข้าเงื่อนไขข้อใดข้อหนึ่ง” จาก 3 ข้อที่กล่าวไป การอ้างอิง Agenda Decision : Holdings of Cryptocurrencies — June 2019 สำหรับการตีความเพื่อวัตถุประสงค์ด้านการรายงานทางการเงินก็อาจไม่เหมาะสมนัก
.
อย่างไรก็ดี สำหรับ Digital Assets ที่ไม่เข้านิยามคำว่า Cryptocurrency ตาม Agenda Decision : Holdings of Cryptocurrencies — June 2019 ก็ “ไม่ได้หมายความว่า” Digital Assets ดังกล่าวจะไม่สามารถเป็นสินค้าคงเหลือ หรือสินทรัพย์ไม่มีตัวตน แต่อย่างใด
.
ในกรณีที่ไม่เข้านิยามดังกล่าว กิจการจะต้องพิจารณามาตรฐานการรายงานทางการเงิน “เท่าที่มีในปัจจุบัน” ว่า Digital Assets ที่กิจการกำลังถืออยู่นั้น เข้าเงื่อนไขการเป็นสินทรัพย์ประเภทใด เช่น อาจเป็นสินทรัพย์ทางการเงิน เป็นเงินจ่ายล่วงหน้า หรืออาจจะเป็นสินค้าคงเหลือ หรือสินทรัพย์ไม่มีตัวตนก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริง ซึ่งรวมถึงวัตถุประสงค์ของการถือครอง Digital Assets ของกิจการด้วย
.
อย่างไรก็ดี หากกลับมาที่ KUB ก็เป็นประเด็นที่น่าคิดว่า จริงๆ แล้ว KUB นั้น ถือเป็น Cryptocurrency ตาม Agenda Decision : Holdings of Cryptocurrencies — June 2019 หรือไม่ ? โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับคำถามที่น่าจะต้องพิจารณากันเพิ่มเติม คือ “ไม่ได้ออกโดย” หน่วยงานกำกับดูแลหรือ “หน่วยงานอื่น” ?
.
อย่างไรก็ดีสำหรับประเด็น “ไม่ได้ก่อให้เกิดสัญญาระหว่างผู้ถือกับอีกฝ่ายหนึ่ง” นั้น ใน whitepaper KUB ได้ระบุไว้ค่อนข้างชัดเจนว่า “Bitkub Coin (KUB) คือ Utility token ไม่ถือเป็นการถือหุ้นหรือหลักทรัพย์ใด ๆ การถือครองเหรียญ KUB ไม่ก่อให้เกิดความเป็นเจ้าของหรือประโยชน์อื่นใดในกลุ่มบริษัท บิทคับ บริษัทในเครือ หรือบริษัทย่อย”