หากย้อนกลับไปเมื่อ 2 ปีที่แล้ว (ปี 2562) ถือเป็นปีแรกที่มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 15 เรื่อง รายได้จากสัญญาที่ทำกับลูกค้า (TFRS 15) มีผลบังคับใช้ในประเทศไทย
.
TFRS 15 ได้กำหนดขั้นตอนการรับรู้รายได้ไว้ 5 ขั้นตอน ซึ่งเป็นที่มาของคำว่า “5-step Model” ได้แก่
✅ 1. ระบุสัญญาที่ทำกับลูกค้า (Identify the contract(s) with a customer)
✅ 2. ระบุภาระที่ต้องปฏิบัติในสัญญา (Identify the performance obligations in the contract)
✅ 3. กำหนดราคาของรายการ (Determine the transaction price)
✅ 4. ปันส่วนราคาของรายการให้กับภาระที่ต้องปฏิบัติที่รวมอยู่ในสัญญา (Allocate the transaction price to each performance obligation)
✅ 5. รับรู้รายได้เมื่อ (หรือขณะที่) กิจการปฏิบัติตามภาระที่ต้องปฏิบัติเสร็จสิ้น (Recognise revenue when a performance obligation is satisfied)
.
นอกจากนี้แล้ว TFRS 15 ยังมีข้อกำหนดปลีกย่อยต่างๆ อีกเป็นจำนวนมาก จึงทำให้ TFRS 15 ถือเป็นมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับหนึ่งที่มีความซับซ้อนของข้อกำหนดไม่น้อยเลยทีเดียว
.
และตามที่ ก.ล.ต. ได้ตรวจทานกระดาษทำการของผู้สอบบัญชีเป็นประจำทุกปี ซึ่งในปี 2563 ที่ผ่านมา ก.ล.ต. ได้กำหนด “หัวข้อที่มุ่งเน้นในการสอบทานคุณภาพงานสอบบัญชี” โดยหนึ่งใน Area ที่ถูกเลือกก็ได้แก่ “การเน้นสอบทานรายการบัญชีหลักที่ได้รับผลกระทบจากการใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับใหม่” ซึ่งก็คือ TFRS 15 ตามที่ได้รายงานไว้ใน “รายงานสรุปกิจกรรมการตรวจคุณภาพงานสอบบัญชี 1 มกราคม 2563 – 31 ธันวาคม 2563” นั่นเองครับ
.
[ข้อมูลภาพรวมของการตรวจคุณภาพงานสอบบัญชีในปี 2563 : จำนวนงานสอบบัญชีของบริษัทจดทะเบียนที่ ก.ล.ต. เลือกมาตรวจสอบ = 104 งาน คิดเป็น 10% ของ Market Capitalization, จากผู้สอบบัญชีในตลาดทุน 92 คน หรือคิดเป็น 33% ของจำนวนผู้สอบบัญชีในตลาดทุนทั้งหมด]
.
จากการตรวจทานกระดาษทำการของผู้สอบบัญชีในประเด็น “การตรวจสอบบัญชีรายได้” ก.ล.ต. ก็ให้ข้อสรุปว่า “ผู้สอบบัญชีจึงควรให้ความสำคัญกับการตรวจสอบบัญชีรายได้เป็นพิเศษ” ซึ่ง “ก.ล.ต. พบว่า ผู้สอบบัญชียังปฏิบัติงานและบันทึกข้อมูลการตรวจสอบบัญชีรายได้ไม่เพียงพอ”
.
ทั้งนี้ ก.ล.ต. ได้ยกตัวอย่างประเด็นการปฏิบัติตาม TFRS 15 / ประเด็นการปฏิบัติงานของผู้สอบบัญชีเมื่อต้องตรวจสอบรายการที่เกี่ยวเนื่องจาก TFRS 15 ไว้อย่างน่าสนใจเลยทีเดียวครับ
.
แอดจึงขอนำตัวอย่างทั้ง 3 ตัวอย่างที่ ก.ล.ต. ได้เผยแพร่ไว้ ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมากกับผู้ประกอบวิชาชีพ มาให้ Fanpage ได้ศึกษากัน ซึ่งครอบคลุมธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพื่อขาย ธุรกิจให้บริการรับเหมาก่อสร้าง และธุรกิจตัวแทนจำหน่ายซอฟต์แวร์
.
บางตัวอย่างก็เป็นเรื่องที่หลายท่านอาจจะคุ้นชิน หรือเคยได้ยินตอนขึ้น TFRS 15 ในปี 2562 เช่น ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ในประเด็นการแถมเฟอร์นิเจอร์ ซึ่งโดยทั่วๆไป เมื่อใช้ TFRS 15 มาจับ ก็มักจะพบว่า “การแถม” นั้น ถือเป็น Performance Obligations จึงทำให้หลายๆบริษัทปรับวิธีการรับรู้รายการดังกล่าวในงบกำไรขาดทุน จากเดิมที่มองเป็น SG&A มาเป็นการรับรู้ ต้นทุนขาย
.
และเป็นที่น่าสังเกตว่า จากทั้ง 3 ตัวอย่างนั้น Step สำคัญของ 5-step Model (ที่เรียกว่า หากพลาดที่ Step นี้เมื่อไหร่หละก็ เดาได้เลยว่าจะต้องมีปัญหาตามมามากมาย) ก็คือ Step 2 : การระบุภาระที่ต้องปฏิบัติในสัญญา (Performance Obligations หรือ PO)
.
หวังว่าจะเป็นประโยชน์ต่อทั้งผู้สอบบัญชี ผู้จัดทำบัญชี รวมไปถึงผู้ใช้งบการเงินครับ
.
Credit : รายงานสรุปกิจกรรมการตรวจคุณภาพงานสอบบัญชี 1 มกราคม 2563 – 31 ธันวาคม 2563 ของ ก.ล.ต.